สารสนเทศสหกรณ์เดินรถเกาะสมุย
สารสนเทศ คืออะไร
มีความสำคัญอย่างไร
เมื่อพูดถึง “สารสนเทศ” หลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดี
และคงจะนึกถึงวงการคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร หรือธุรกิจอย่างแน่นอน
และถึงแม้ว่าจะได้ยินกันจนคุ้นหูแต่คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วนั้น “สารสนเทศคืออะไร…?” โดยคิดเพียงแค่ว่าเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับวงการคอมพิวเตอร์เท่านั้น
สารสนเทศคืออะไร…?
สารสนเทศ (Information)
หมายถึง ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร รูปภาพ
สัญลักษณ์ หรือเสียง ที่ล้วนแล้วแต่ผ่านการกระบวนการประมวลผลด้วยวิธีการต่างๆ เช่น
การคำนวณ การเปรียบเทียบ การวิเคราะห์ การเรียงลำดับ และการสรุปผล เป็นต้น
แล้วจึงมีการบันทึกไว้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปใช้งานต่อไป เช่น
เกรดเฉลี่ยของนักเรียน เป็นต้น
ซึ่งสารสนเทศจะเกิดประโยชน์มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ของแต่ละคน
ความสำคัญของสารสนเทศ ซึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันคนทุกอาชีพ
ทุกเพศ และทุกวัยล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งนั้น
เพราะสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตเปรียบเสมือนสิ่งที่ขับเคลื่อนสังคมหลากหลายด้านด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษาที่ช่วยให้การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและเกิดความรู้ใหม่ขึ้น
หรือจะเป็นทางด้านสังคมที่ช่วยพัฒนาสติปัญญาของคนในสังคม
ทั้งยังช่วยสร้างความเข้าใจแก่คนในสังคม
ลดความขัดแย้งและให้คนในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
รวมถึงทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง และวัฒนธรรมอีกด้วย
ดังนั้นสารสนเทศคือข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลด้วยวิธีการต่างๆ
เรียบร้อยแล้ว เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
โดยสารสนเทศเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก
เพราะต่างก็เกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวันหลากหลายด้านด้วยกัน
ซึ่งถ้าขาดสารสนเทศไปอาจจะก่อให้เกิดปัญหาและความวุ่นวายตามมามากมาย
สารสนเทศ (Information)
หมายถึง
ข้อมูลต่างๆ
ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ
ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย
มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น
การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด
เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป เป็นต้น ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ
1. ให้ความรู้
2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา
สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ
4. สามารถประเมินค่าได้
แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ
1. ข้อมูลภายใน หมายถึง
ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น ได้แก่ ข้อมูล การปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น
ข้อมูลงานบุคลากร ข้อมูลงานกิจการนักเรียน
2. ข้อมูลภายนอก หมายถึง
ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร ข้อมูลหน่วยงานอื่นๆ
ประโยชน์ของสารสนเทศ
1. ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์
หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ
ลดความซ้ำซ้อน
แนวทางในการจัดทำระบบสารสนเทศ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
2. การตรวจสอบข้อมูล
3. การประมวลผล
4. การจัดเก็บข้อมูล
5. การวิเคราะห์
6. การนำไปใช้
ในปัจจุบันสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ
สังคม
หรือแม้แต่การเมืองการปกครอง
ที่สารสนเทศเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง
ซึ่งอาจจะเรียกยุคนี้ว่าเป็น
ยุคสังคมสารสนเทศ หรือ Information Age
Society
ที่ข้อมูลข่าวสาร
สารสนเทศเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาให้มีความก้าวหน้าและพัฒนาประเทศ
ซึ่งมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพลังขับเคลื่อนหรือปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งทุกศาสตร์
ทุกวงการ
ล้วนนำสารสนเทศเข้าไปใช้ประโยชน์หรือใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาต่างๆ จากคำกล่าวที่ว่า Information is Power หรือ สารสนเทศคืออำนาจ
สามารถชี้วัดได้ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรได้
โดยสารสนเทศนั้นก่อให้เกิดแนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆ และนำไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
หากบุคคลากรในองค์กรรู้จักใช้สารสนเทศมาปรับปรุงการดำเนินงาน พัฒนางานที่กำลังกระทำอยู่ ก็จะเป็นการช่วยพัฒนาองค์กรในทางอ้อม
ทั้งนี้เพราะสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างกว้างๆ
คือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเทศที่เป็นตัวอย่างในการใช้หรือบริโภคสารสนเทศ
เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ดีที่สุดในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันว่าประเทศญี่ปุ่น
เป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และเศรษฐกิจ มากที่สุดในเอเชีย
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จและพัฒนาให้ประเทศญี่ปุ่นอยู่ในระดับชั้นนำของโลกได้นั่น
เป็นเพราะว่า ประเทศญี่ปุ่นเห็นความสำคัญของสารสนเทศ มีการเรียนรู้การใช้สารสนเทศได้เป็นอย่างดี สังคมในปัจจุบันมีลักษณะเป็นสังคมข่าวสาร ที่มีการพัฒนาประเทศทุกด้านอย่างกว้างขวาง มีการค้นคว้า
การวิจัย
การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ
ขึ้นมา
ซึ่งก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาการต่างๆ ที่ล้วนต้องการสารสนเทศมากขึ้น
และทำให้ปริมาณสารสนเทศมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ซึ่งส่งผลกระทบถึงผู้ใช้หรือผู้บริโภคสารสนเทศอย่างมากในการที่จะเข้าตัวสารสนเทศได้ตามที่ต้องการ
การรู้สารสนเทศ
หมายถึง ความรู้ ทักษะ ความสามารถของบุคคลในการตระหนักถึงความต้องการสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ
การประเมินสารสนเทศ และนำสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนร่วม
ในยุคสมัยที่ทุกคนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างไร้ขีดจำกัด
การรู้สารสนเทศในแต่ละคนแต่ละพื้นที่จึงเป็นสิ่งจำเป็น และยิ่งมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น กับการเปลี่ยนของเทคโนโลยีในสังคมสารสนเทศ
ได้มีนักสารสนเทศศึกษาและเล็งเห็นความสำคัญของการรู้สารสนเทศ โดยสรุปถึงความสำคัญของการรู้สารสนเทศในแง่มุมที่น่าสนใจ
ดังนี้.
1. เป็นการแสวงหาสารสนเทศตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ได้รับรู้โอกาสในการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศและแยกแยะแหล่งสารสนเทศได้
3. ได้วิเคราะห์และเลือกใช้สารสนเทศจากเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ
เช่น จากคอมพิวเตอร์ และจากเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นๆ
4. มีความสะดวกต่อการใช้มวลชนที่หลากหลายที่เหมาะสมที่สุด
5. มีความระมัดระวังต่อการใช้สารสนเทศทั้งที่เชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้
6. สามารถถ่ายทอดสารสนเทศที่รู้ให้ผู้อื่นทราบได้
การรู้สารสนเทศมีบทบาทและความสำคัญต่อการศึกษาทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา เนื่องจากสถาบันการศึกษาต่างๆ
ต่างตระหนักถึงความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
ว่าเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
เพราะการรู้สารสนเทศทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งเป็นกลไกนำพาให้บุคคลมีการพัฒนาคุณภาพของตนอยู่เสมอ
และหากประเทศใดประชาชนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ถือว่าทรัพยากรมนุษย์ของประเทศนั้นย่อมมีคุณภาพดีกว่าประเทศอื่นๆ
และการรู้สารสนเทศยังเป็นวิธีแห่งการมีอำนาจของบุคคลในสังคมสารสนเทศอีกด้วย
ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของประเทศในยุคนี้
การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการสร้างสังคมสารสนเทศและสังคมความรู้
เป็นทักษะชีวิตที่จำเป็นในสังคมแห่งการเรียนรู้
ซึ่งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
ได้กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของมนุษย์เอาไว้ 4
ประการ คือ
1. Learn to know เรียนเพื่อให้มีความรู้และมีวิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถนำความรู้ วิธีการเรียนรู้ที่ได้มาไปต่อยอด
แสวงหาหรือผลติสร้างความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ
2. Learn to do เรียนเพื่อที่จะทำเป็น
หรือใช้ความรู้ไปประกอบอาชีพและสร้างประโยชน์แก่สังคม
3. Learn to live with the others เรียนเพื่อดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมอย่างมีความสุข
และสร้างสรรค์
4. Learn to be เรียนเพื่อที่จะเป็นผู้ที่รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้
สามารถพัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ หรือพัฒนาตนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
จะเห็นได้ว่า 2 ใน 4
เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงไปถึงการพัฒนาลักษณะนิสัยทางจริยธรรม แบบที่3 และ4
เป็นการเรียนรู้เพื่อการมีจริยธรรมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นและในการพัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
และหัวใจสำคัญของการเรียนรู้
เพื่อสร้างลักษณะนิสัยทางจริยธรรมเพื่อความเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคม คือ
การสร้างกระบวนการเรียนรู้
ความหมายของข้อมูล
ข้อมูล (Data)
หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล
สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ
ที่มีความหมายเฉพาะตัว
ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไพโรจน์ คชชา,
2542)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525)
ให้ความหมายของ ข้อมูล(Data) หมายถึง
ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือ
การคำนวณ
ข้อมูล (Data)
หมายถึง
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อยู่ในรูปของตัวเลขหรือสัญลักษณ์ต่างๆ
ที่ยังไม่ผ่านการประมวลข้อมูล (มนตรี ดวงจิโน, 2546)
" กล่าวโดยสรุป
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล"
ลักษณะข้อมูล
1. ข้อมูลที่คำนวณไม่ได้
ได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ รหัสประจำตัว
2. ข้อมูลที่คำนวณได้
ได้แก่ ตัวเลขที่มีความหมายในการคำนวณ
ประเภทของข้อมูล
1. ข้อมูลเพื่อการวางแผน
หมายถึง ข้อมูลที่มีความสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนงานการบริหาร ใช้ในการควบคุม การตัดสินใจ
โดยได้มีการสรุปเป็นหมวดหมู่เป็นตาราง มีการคำนวณ จัดเรียงลำดับ
ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สารสนเทศ
2. ข้อมูลการปฏิบัติงาน
หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
3. ข้อมูลอ้างอิง หมายถึง
ข้อมูลที่เก็บไว้สำหรับอ้างอิง
ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ (Information)
หมายถึง ข้อมูลต่างๆ
ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ
ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย
มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน (ไพโรจน์ คชชา,
2542)
สารสนเทศ (Information)
หมายถึง ความรู้หรือข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ
ที่ได้รับการประมวลแล้วและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (มนตรี ดวงจิโน, 2546)
วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542)
ได้ให้ความหมาย สารสนเทศ (Information) หมายถึง
ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น
การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด
เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ
1. ให้ความรู้
2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา
สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ
4. สามารถประเมินค่าได้
" กล่าวโดยสรุป สารสนเทศ
คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้"