ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ สหกรณ์เดินรถเกาะสมุย จำกัด

เปลี่ยนภาษาหน้าเว็บ Translate for website 改变语言


ข่าวสาร และ ประกาศ
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สารสนเทศ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สารสนเทศ แสดงบทความทั้งหมด

วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ๓ มิถุนายน ๒๕๖๔

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา  สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ์ พระบรมราชินี

๓ มิถุนายน ๒๕๖๔

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

ข้าพระพุทธเจ้า คณะกรรมการฝ่ายบริหาร พนักงาน สมาชิกสามัญ ผู้ประจำรถโดยสารสาธารณะ

สหกรณ์เดินรถเกาะสมุย จำกัด.

25 เมษายน วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

 25 เมษายน  วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ แห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้ทรงกอบกู้อิสรภาพของไทย

พระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 มีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ พระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรีย์ ทรงพระราชสมภพ ณ พระราชวังจันทน์ เมื่อปี พ.ศ. 2098 พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินีและพระอนุชา คือ พระสุพรรณกัลยา และสมเด็จพระเอกาทศรถ ในขณะที่พระองค์ทรงพระเยาว์ พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ได้ยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก และทรงขอสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไปเลี้ยงเป็นพระราชบุตรบุญธรรมเพื่อเป็นตัวประกันที่หงสาวดี จนพระชนมายุได้ 15 พรรษา พระองค์จึงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระมหาอุปราชปกครองเมืองพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2098 ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก ณ เมืองแครง ประกาศอิสรภาพของชาติไทยโดยไม่ขึ้นกับพม่าอีกต่อไป และทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์สุโขทัย 

นรัชสมัยของพระองค์ทรงกระทำสงครามขยายพระราชอาณาจักรไทยให้แผ่ไพศาลไปในจตุรทิศ ทรงเป็นกษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่และกล้าหาญ โดยพระองค์ได้กู้คืนอิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยา ช่วยกอบกู้เอกราชของชาติ ทรงผดุงความเป็นไทย ปกป้องรักษาแผ่นดินให้ปลอดพ้นภัยจากอริราชศัตรู เพื่ออิสรภาพของปวงชนชาวไทย

 

ROUTE BUS Car colors and symbols Samui Public Bus Line

ROUTE BUS Car colors and symbols  Samui Public Bus Line

  1. Red bus
  2. Micro bus
  3. Van
  4. Tuk Tuk

BUS Station Red bus

  •          NATHON - MAENAM - CHAWENG - PLI LAEM - LAMAI - SA KET – NATHON

BUS Station Red bus

  •          NATHON  THONG KRUT - LAMAI - PLI LAEM - LAMAI – NATHON

BUS Station Red bus

  •          NATHON - MAENAM - BANG RAK - PLI LAEM - BANG RAK – NATHON

BUS Station Micro bus

  •          NATHON - MAENAM - CHAWENG - AIR PORT - LAMAI - SA KET – NATHON

BUS Station Van

  •          NATHON - MAENAM - AIR PORT - CHAWENG - LAMAI - SA KET – NATHON

BUS Station Tuk Tuk

  •         NATHON - LIPA YAI - HOSPITAL -  HINLAND.

สารสนเทศสหกรณ์เดินรถเกาะสมุย

สารสนเทศสหกรณ์เดินรถเกาะสมุย


สารสนเทศ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

เมื่อพูดถึง สารสนเทศหลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดี และคงจะนึกถึงวงการคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร หรือธุรกิจอย่างแน่นอน และถึงแม้ว่าจะได้ยินกันจนคุ้นหูแต่คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วนั้น สารสนเทศคืออะไร…?” โดยคิดเพียงแค่ว่าเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับวงการคอมพิวเตอร์เท่านั้น

สารสนเทศคืออะไร…?

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร รูปภาพ สัญลักษณ์ หรือเสียง ที่ล้วนแล้วแต่ผ่านการกระบวนการประมวลผลด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การคำนวณ การเปรียบเทียบ การวิเคราะห์ การเรียงลำดับ และการสรุปผล เป็นต้น แล้วจึงมีการบันทึกไว้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปใช้งานต่อไป เช่น เกรดเฉลี่ยของนักเรียน เป็นต้น ซึ่งสารสนเทศจะเกิดประโยชน์มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ของแต่ละคน

ความสำคัญของสารสนเทศ ซึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันคนทุกอาชีพ ทุกเพศ และทุกวัยล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งนั้น เพราะสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตเปรียบเสมือนสิ่งที่ขับเคลื่อนสังคมหลากหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษาที่ช่วยให้การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและเกิดความรู้ใหม่ขึ้น หรือจะเป็นทางด้านสังคมที่ช่วยพัฒนาสติปัญญาของคนในสังคม ทั้งยังช่วยสร้างความเข้าใจแก่คนในสังคม ลดความขัดแย้งและให้คนในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข รวมถึงทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง และวัฒนธรรมอีกด้วย

ดังนั้นสารสนเทศคือข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลด้วยวิธีการต่างๆ เรียบร้อยแล้ว เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป โดยสารสนเทศเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก เพราะต่างก็เกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวันหลากหลายด้านด้วยกัน ซึ่งถ้าขาดสารสนเทศไปอาจจะก่อให้เกิดปัญหาและความวุ่นวายตามมามากมาย

สารสนเทศ (Information) หมายถึง

ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป เป็นต้น ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ

1. ให้ความรู้

2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ

3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ

4. สามารถประเมินค่าได้


แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ

1. ข้อมูลภายใน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น ได้แก่ ข้อมูล การปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลงานบุคลากร ข้อมูลงานกิจการนักเรียน

2. ข้อมูลภายนอก หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร ข้อมูลหน่วยงานอื่นๆ

 

ประโยชน์ของสารสนเทศ

1. ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ

2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน

3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ

4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน


แนวทางในการจัดทำระบบสารสนเทศ

1. การเก็บรวบรวมข้อมูล

2. การตรวจสอบข้อมูล

3. การประมวลผล

4. การจัดเก็บข้อมูล

5. การวิเคราะห์

6. การนำไปใช้

 

ในปัจจุบันสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก    ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา  เศรษฐกิจ  สังคม  หรือแม้แต่การเมืองการปกครอง  ที่สารสนเทศเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง  ซึ่งอาจจะเรียกยุคนี้ว่าเป็น  ยุคสังคมสารสนเทศ  หรือ  Information Age Society  ที่ข้อมูลข่าวสาร  สารสนเทศเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาให้มีความก้าวหน้าและพัฒนาประเทศ  ซึ่งมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพลังขับเคลื่อนหรือปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  ซึ่งทุกศาสตร์  ทุกวงการ  ล้วนนำสารสนเทศเข้าไปใช้ประโยชน์หรือใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาต่างๆ  จากคำกล่าวที่ว่า  Information is Power  หรือ  สารสนเทศคืออำนาจ  สามารถชี้วัดได้ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรได้  โดยสารสนเทศนั้นก่อให้เกิดแนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆ  และนำไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น   หากบุคคลากรในองค์กรรู้จักใช้สารสนเทศมาปรับปรุงการดำเนินงาน  พัฒนางานที่กำลังกระทำอยู่ ก็จะเป็นการช่วยพัฒนาองค์กรในทางอ้อม  ทั้งนี้เพราะสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา   ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างกว้างๆ คือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเทศที่เป็นตัวอย่างในการใช้หรือบริโภคสารสนเทศ  เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ  ที่เกิดขึ้นได้ดีที่สุดในปัจจุบัน   เป็นที่ยอมรับกันว่าประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และเศรษฐกิจ มากที่สุดในเอเชีย ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จและพัฒนาให้ประเทศญี่ปุ่นอยู่ในระดับชั้นนำของโลกได้นั่น เป็นเพราะว่า ประเทศญี่ปุ่นเห็นความสำคัญของสารสนเทศ  มีการเรียนรู้การใช้สารสนเทศได้เป็นอย่างดี   สังคมในปัจจุบันมีลักษณะเป็นสังคมข่าวสาร  ที่มีการพัฒนาประเทศทุกด้านอย่างกว้างขวาง  มีการค้นคว้า  การวิจัย  การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ  ขึ้นมา  ซึ่งก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาการต่างๆ  ที่ล้วนต้องการสารสนเทศมากขึ้น  และทำให้ปริมาณสารสนเทศมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ซึ่งส่งผลกระทบถึงผู้ใช้หรือผู้บริโภคสารสนเทศอย่างมากในการที่จะเข้าตัวสารสนเทศได้ตามที่ต้องการ

 

การรู้สารสนเทศ หมายถึง ความรู้ ทักษะ ความสามารถของบุคคลในการตระหนักถึงความต้องการสารสนเทศ     การเข้าถึงสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ การประเมินสารสนเทศ และนำสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนร่วม

ในยุคสมัยที่ทุกคนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างไร้ขีดจำกัด  การรู้สารสนเทศในแต่ละคนแต่ละพื้นที่จึงเป็นสิ่งจำเป็น และยิ่งมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น  กับการเปลี่ยนของเทคโนโลยีในสังคมสารสนเทศ  ได้มีนักสารสนเทศศึกษาและเล็งเห็นความสำคัญของการรู้สารสนเทศ  โดยสรุปถึงความสำคัญของการรู้สารสนเทศในแง่มุมที่น่าสนใจ ดังนี้.

1. เป็นการแสวงหาสารสนเทศตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ได้รับรู้โอกาสในการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศและแยกแยะแหล่งสารสนเทศได้

3. ได้วิเคราะห์และเลือกใช้สารสนเทศจากเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ เช่น จากคอมพิวเตอร์ และจากเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นๆ

4. มีความสะดวกต่อการใช้มวลชนที่หลากหลายที่เหมาะสมที่สุด

5. มีความระมัดระวังต่อการใช้สารสนเทศทั้งที่เชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้

6. สามารถถ่ายทอดสารสนเทศที่รู้ให้ผู้อื่นทราบได้

 

การรู้สารสนเทศมีบทบาทและความสำคัญต่อการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา เนื่องจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ต่างตระหนักถึงความสำคัญของการรู้สารสนเทศ ว่าเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 เพราะการรู้สารสนเทศทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งเป็นกลไกนำพาให้บุคคลมีการพัฒนาคุณภาพของตนอยู่เสมอ และหากประเทศใดประชาชนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ถือว่าทรัพยากรมนุษย์ของประเทศนั้นย่อมมีคุณภาพดีกว่าประเทศอื่นๆ และการรู้สารสนเทศยังเป็นวิธีแห่งการมีอำนาจของบุคคลในสังคมสารสนเทศอีกด้วย ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของประเทศในยุคนี้

การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการสร้างสังคมสารสนเทศและสังคมความรู้ เป็นทักษะชีวิตที่จำเป็นในสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของมนุษย์เอาไว้ 4 ประการ คือ

1. Learn to know เรียนเพื่อให้มีความรู้และมีวิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้ วิธีการเรียนรู้ที่ได้มาไปต่อยอด แสวงหาหรือผลติสร้างความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ

2. Learn to do เรียนเพื่อที่จะทำเป็น หรือใช้ความรู้ไปประกอบอาชีพและสร้างประโยชน์แก่สังคม

3. Learn to live with the others เรียนเพื่อดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมอย่างมีความสุข และสร้างสรรค์

4. Learn to be เรียนเพื่อที่จะเป็นผู้ที่รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ สามารถพัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ หรือพัฒนาตนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

จะเห็นได้ว่า 2 ใน 4 เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงไปถึงการพัฒนาลักษณะนิสัยทางจริยธรรม แบบที่3 และ4 เป็นการเรียนรู้เพื่อการมีจริยธรรมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นและในการพัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ เพื่อสร้างลักษณะนิสัยทางจริยธรรมเพื่อความเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคม คือ การสร้างกระบวนการเรียนรู้


ความหมายของข้อมูล

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไพโรจน์ คชชา, 2542)

 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525) ให้ความหมายของ ข้อมูล(Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือ การคำนวณ

 

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อยู่ในรูปของตัวเลขหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลข้อมูล (มนตรี ดวงจิโน, 2546)

" กล่าวโดยสรุป ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล"


ลักษณะข้อมูล

1. ข้อมูลที่คำนวณไม่ได้ ได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ รหัสประจำตัว

2. ข้อมูลที่คำนวณได้ ได้แก่ ตัวเลขที่มีความหมายในการคำนวณ


ประเภทของข้อมูล

1. ข้อมูลเพื่อการวางแผน หมายถึง ข้อมูลที่มีความสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนงานการบริหาร ใช้ในการควบคุม การตัดสินใจ โดยได้มีการสรุปเป็นหมวดหมู่เป็นตาราง มีการคำนวณ จัดเรียงลำดับ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สารสนเทศ

2. ข้อมูลการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นเป็นประจำ

3. ข้อมูลอ้างอิง หมายถึง ข้อมูลที่เก็บไว้สำหรับอ้างอิง


ความหมายของสารสนเทศ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน (ไพโรจน์ คชชา, 2542)


สารสนเทศ (Information) หมายถึง ความรู้หรือข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับการประมวลแล้วและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (มนตรี ดวงจิโน, 2546)

วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542) ได้ให้ความหมาย สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ

1. ให้ความรู้

2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ

3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ

4. สามารถประเมินค่าได้

" กล่าวโดยสรุป สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้"

วันรัฐธรรมนูญ Constitution Day

วันรัฐธรรมนูญ Constitution Day

10 ธันวาคม ของทุกปี  ปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2563

10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

 

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทยเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ใช้กันมาเป็นเวลา 700 ปีเศษ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

 

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7  แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน  รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดินจากราษฎร

จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฎิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์เป็นผู้บริหารประเทศ

วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ ได้แก่ การที่กำหนดว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

พระมหากษัตริย์

สภาผู้แทนราษฎร

คณะกรรมการราษฎร

ศาล


ลักษณะการปกครอง  แม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฎิบัติราชการต่างๆจะต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎร จึงจะใช้ได้สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้ว จึงจะมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้ว พิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

 

กระทั่งถึงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวรซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครอง เป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็น ที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

วันพ่อ 5 ธันวาคม 2563 พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย เรื่องราวของพ่อ

พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย

วันนี้วันพ่อ  ขอนำเรื่องราวพระประวิติของพ่อแห่งการสหกรณ์ไทย มาให้พี่น้องชาวสหกรณ์ได้อ่านกัน

พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย  มหาอำมาตย์โท พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ มีพระนามเดิมว่า พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส หรือนามปากกาว่า น.ม.ส. (10 มกราคม พ.ศ. 2420 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488) เป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย เป็นองค์ต้นราชสกุล รัชนี

พระประวัติ

พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ มีพระนามเดิมว่า พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส เป็นพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับจอมมารดาเลี่ยมเล็ก (ธิดานายสุดจินดา (พลอย ชูโต) ประสูติเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2420 ในพระบวรราชวัง มีพระเชษฐภคินีหนึ่งพระองค์คือพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัททาวดีศรีราชธิดา

เมื่อเยาว์วัยทรงเรียนหนังสือกับพระมารดาที่ตำหนัก เมื่อพระชันษา 5 ปี ก็ทรงอ่านหนังสือได้คล่อง ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อพ.ศ. 2429 และต่อมาศึกษาภาษาอังกฤษจนถึงพ.ศ. 2436 จึงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายเวร กระทรวงธรรมการ ขณะพระชันษา 16 ปี และได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการใน ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทย ทรงเป็นกรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติพิจารณาความแพ่ง และทรงได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 ผนวชเป็นสามเณร โดยมีพระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระเมธาธรรมรส (อ่อน อหึสโก) เป็นพระศีลาจารย์  เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสตามเสด็จด้วย ทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นเวลาสองปี และเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2442  เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระริเริ่มตั้งลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2470 และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการองคมนตรี  โดยทรงได้รับเลือกเป็นสภานายก เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2474

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ด้วยพระโรคหลอดเลือดในสมองตัน สิริพระชันษา 68 ปี 195 วัน มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2491 ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส

พระกรณียกิจ

พ.ศ. 2442 ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี  พ.ศ. 2444 ทรงย้ายเป็นปลัดกรมธนบัตร และเจริญก้าวหน้าเป็น ผู้แทนเจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมกองที่ปรึกษาอธิบดีกรมประสาปน์สิทธิการ อธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี อธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ทรงจัดตั้งและวางรากฐานกิจการสหกรณ์ จนในที่สุดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์

วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส เป็นองคมนตรี และในวันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นพระราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงศักดินา 11000 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีต่อไป โดยทรงดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475  พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ดำรงตำแหน่งอุปนายกกรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับกรมศิลปากร ต่อมาได้เปลี่ยนจากหอสมุดสำหรับพระนครเป็น "ราชบัณฑิตยสภา

การสหกรณ์ไทย

ทรงดำริให้จัดสร้างสหกรณ์วัดจันทร์ สหกรณ์แห่งแรกของไทย

วันสหกรณ์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี.

สารสนเทศ


นายชัยเชษฐ นุ้ยมัย ประธานสหกรณ์เดินรถเกาะสมุย คนใหม่ ๓๒/๒๕๖๓

นายชัยเชษฐ นุ้ยมัย



ประธานกรรมการฝ่ายบริหาร

สหกรณ์เดินรถเกาะสมุย จำกัด

ประธานคนใหม่ ๓๒/๒๕๖๓

สารสนเทศ


12 สิงหา มหาราชินี พระชนมพรรษา 85 พรรษา

12 สิงหา มหาราชินี

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่๙
พระชนมพรรษา 85 พรรษา

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะกรรมการ พนักงาน พนักงานประจำรถสองแถว สหกรณ์เดินรถเกาะสมุย จำกัด

สารสนเทศ

วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม

วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม

Mother's Day or *H.M. The Queen's Birthday

วันแม่แห่งชาติ ที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า วันแม่ ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับ
วันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือวันที่ ๑๒ สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ และถือว่าเป็นวันแม่แห่งชาติด้วย
โดยในปี 2560 นี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชทานคำขวัญวันแม่แห่งชาติ มีใจความว่า...

"สอนให้ลูก เรียนรู้ สู้ปัญหา พัฒนา ด้วยตน จนเติบใหญ่ เพราะคนแกร่ง จะก้าว ได้ยาวไกล เพื่อมาเป็น กำลังไทย ให้แข็งแรง"

สารสนเทศ

ตรวจสอบบัญชีประจำปี 2559 สำนักงานสหกรณ์เดินรถเกาะสมุย จำกัด

สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ตรวจสอบบัญชีประจำปี 2559 สำนักงานสหกรณ์เดินรถเกาะสมุย จำกัด วันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2560
โดย ผู้สอบบัญชีจังหวัดสุราษฎร์ธานี
 

นางสาวบัวทิพย์ พิณสุวรรณ นักวิชาการตรวจสอบบัญชี ชำนาญการ
และ นางสาวสายฝน ทองรักษ์ นักวิชาการตรวจบัญชี
ซึ่งการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์เกาะสมุย เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจบัญชีจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดินทางมาตรวจงานเป็นประจำของทุกๆ ปี

ภาพและบทความโดย
จนท.สารสนเทศ สหกรณ์เดินรถเกาะสมุย.

สารสนเทศ